top of page
ปวดหลัง-สะโพก-ขา.jpg

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทมีอาการอย่างไรบ้าง จะรักษาอย่างไร

โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทเป็นอีกความอันตรายที่ไม่ควรมองข้ามเป็นอันขาดเพราะนั่นอาจส่งผลถึงความเสี่ยงต่ออาการอัมพฤกษ์ อัมพาต กันเลยทีเดียวซึ่งใครที่รู้ตัวเองว่าสุ่มเสี่ยงจะป่วยด้วยโรคนี้จากพฤติกรรมการใช้ชีวิตต่าง ๆ ลองมาศึกษาถึงอาการที่น่าสงสัย พร้อมวิธีรักษาอย่างเหมาะสม กายภาพบำบัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท จะช่วยได้มากน้อยแค่ไหน

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทอาการเป็นอย่างไร
‍ต้องขออธิบายสักเล็กน้อยก่อนว่าหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทเกิดจากภาวะของการเสื่อมสภาพบริเวณโครงสร้างของกระดูกสันหลัง ส่งผลให้มีการทรุดตัวจนกดเบียดทับเส้นประสาทนำมาซึ่งปัญหาเส้นประสาทอักเสบและอาการต่าง ๆ ดังนี้

ปวดหลัง ปวดเอว บ่อยครั้ง อาจเป็น ๆ หาย ๆ แต่ก็รู้สึกได้ตลอด
- บ่อยครั้งปวดร้าวจากเอวลงไปสู่ขาน่อง และปลายเท้า
- หากต้องออกแรงเดินเพียงระยะเวลาไม่นานจะรู้สึกปวดชาคล้ายกับจะเป็นตะคริวต้องหยุดเดินชั่วครู่อาการจึงจะดีขึ้น
- อาจมีปัญหาเรื่องการขับถ่ายที่ควบคุมไม่ค่อยได้
- สำหรับผู้ที่มีอาการรุนแรงมักรู้สึกถึงปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรงขยับไม่ค่อยไหว กระดกข้อเท้าไม่ขึ้น

สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
‍ส่วนใหญ่แล้วผู้ที่มีปัญหาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ปวดหลัง ปวดเอว บ่อย ๆ มักมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น น้ำหนักตัวเยอะภาวะอ้วน ยกของหนักประจำ เกิดอุบัติเหตุ การนั่งทำงานในท่าเดิมเป็นเวลานานรวมถึงผู้ที่สูบบุหรี่จัดก็มีความเสี่ยงต่อตัวโรคด้วยเช่นกัน

9A99C998-3245-452D-AB9D-728A6B8C0401_edited.jpg

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทจะรักษาอย่างไรได้บ้าง
เป็นสิ่งที่ผู้ป่วยหรือคนที่รู้สึกว่าตนเองสุ่มเสี่ยงจะป่วยต้องการคำตอบมากที่สุดถ้าหากทำตามการแพทย์สมัยใหม่หลังตรวจร่างกายเรียบร้อยและพบว่ามีปัญหาดังกล่าวจริงก็มักใช้วิธีรักษาตามแนวทางดังนี้
-  กายภาพบำบัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เพื่อให้กล้ามเนื้อลดการเกร็งตัวเคลื่อนไหวได้อย่างถูกต้องตามท่าทางที่เหมาะสม และมีการทานยาร่วมด้วย ผลลัพธ์ชี้ว่าหากไม่ได้อยู่ในกลุ่มผู้ป่วยอาการรุนแรงกว่า80% อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้น
-  อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ที่มีอาการหนักเวลาไปคลินิกกายภาพบำบัดแล้วหมอกายภาพบำบัดประเมินว่าควรใช้วิธีอื่นนั่นหมายถึงอาจต้องรักษาด้วยการการฉีดยาบริเวณจุดที่ใกล้กับอาการปวดหนัก ๆ รวมถึงการผ่าตัดผ่านกล้องก็ได้เช่นกัน

เหนือสิ่งอื่นใดหากไม่ต้องการเสียเวลามานั่งทำกายภาพบำบัดปวดหลัง กายภาพบำบัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท และโรคอื่น ๆ แนะนำให้ปรับพฤติกรรมของตนเองใหม่ตั้งแต่วันนี้จะดีที่สุดพยายามลุกเดินทำกิจกรรมอื่นบ้างนอกจากนั่งอยู่หน้าจอ ออกกำลังกายตามความเหมาะสมของสภาพร่างกายลดน้ำหนักให้ได้ตามเกณฑ์ เท่านี้ก็ช่วยให้ชีวิตมีความสุข เคลื่อนไหวได้อย่างไม่ติดขัด มีความสุขที่ใช่และได้ใช้ชีวิตที่ชอบ

การรักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทด้วยกายภาพบำบัดเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการและเพิ่มฟังก์ชันการทำงานของกล้ามเนื้อ เอ็นและข้อต่อ โดยมีวิธีการรักษาดังนี้

LINE_ALBUM_3567_240526_1_edited.jpg

การประเมินและวินิจฉัย : การเริ่มต้นด้วยการประเมินและวินิจฉัยปัญหาทางกายภาพ ซึ่งสามารถทำได้โดยผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านกายภาพบำบัด โดยการสำรวจอาการปวด การตรวจสอบความเคลื่อนไหว และประเมินภาพรวมของร่างกาย

 

การออกกำลังกายและการยืดกล้ามเนื้อ : ผู้ป่วยอาจต้องทำกิจกรรมการออกกำลังกายและการยืดกล้ามเนื้อเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อหลัง อาจมีการใช้ท่าทางการยืดกล้ามเนื้อเฉพาะ หรือออกกำลังกายโดยกายภาพบําบัดที่เน้นการยืดกล้ามเนื้อ

 

การกายภาพบำบัดแบบแรงต้าน : การใช้แรงต้านเพื่อฝึกกล้ามเนื้อหลังให้แข็งแรงและยืดหยุ่น โดยใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ

 

การฟื้นฟูศักยภาพและความสามารถในการทำงาน: การฝึกซ้อมและการทำกิจกรรมที่เน้นความสามารถในการทำงานและฟื้นฟูสภาพกล้ามเนื้อหลังให้กลับสู่ระดับปกติ ซึ่งอาจรวมถึงการทำงานในภาวะทางการทำงานจริง เพื่อป้องกันการกลับมาเกิดอีกครั้ง

 

การให้คำแนะนำและการศึกษาเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของกล้ามเนื้อ : การให้คำแนะนำเกี่ยวกับท่าทางที่ถูกต้องในการทำงาน การยกของ การนั่งหรือยืน รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องที่อาจเป็นสาเหตุของปัญหา

 

การวิเคราะห์และปรับท่าทางการทำงาน : ผู้ป่วยอาจต้องปรับเปลี่ยนท่าทางการทำงาน เช่น การปรับความสูงของโต๊ะทำงาน การปรับที่นั่งให้รองรับร่างกาย หรือการเปลี่ยนแปลงท่าทางในการยกของ เพื่อลดการเอนหลังและการกดทับในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

 

การรักษาโดยเครื่องมือทางกายภาพบำบัด :

เครื่องอัลตราซาวด์ (คลื่นร้อนความลึก) กระตุ้นเลือดให้มาเลี้ยงบริเวณที่มีจุดกดเจ็บ และตึงตัวมากเกินไป ทำให้เลือดกลับมาเลี้ยงบริเวณที่ปวดมากขึ้น เป็นสาเหตุให้กล้ามเนื้อคลายตัว คนไข้จึงรู้สึกโล่งขึ้น

เครื่อง ES (electrical stimulator) เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าจะเข้าไปกระตุ้นเส้นใยกล้ามเนื้อและเส้นประสาทขนาดใหญ่และไปยับยั้งการส่งกระแสประสาทความเจ็บปวด จากเส้นประสาทขนาดเล็กไม่ให้ส่งกระแสประสาทจากบริเวณที่เจ็บปวดไปสู่สมอง และ กระแสไฟฟ้าจะกระตุ้นเส้นใยประสาทที่รับความเจ็บปวดให้หลั่งสาร เอ็นเคฟาลิน (enkephalin) ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายมอร์ฟีน ที่ช่วยลดการเจ็บปวดนอกจากนี้ยังกระตุ้นสารลดความเจ็บปวด เอ็นโดฟิน(endorphin) จึงสามารถลดปวดได้

เครื่อง Shock wave (คลื่นกระแทก) กระตุ้นการบาดเจ็บเพื่อสร้างเนื้อเยื่อใหม่ ทำให้ลดอาการปวด โดยวิธีการลดสารสื่อประสาทที่ส่งสัญญาณปวดและกระตุ้นการลดปวดในกล้ามเนื้อ (re-injury) จึงจะเห็นผลหลังการรักษาทันที

การรักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทด้วย กายภาพบําบัด เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการลดอาการปวด ลดอาการเสียดสีและการกดทับเส้นประสาท และเพิ่มฟังก์ชันการทำงานของกล้ามเนื้อ อย่างไรก็ตาม การเลือกใช้วิธีการรักษาที่เหมาะสมควรพิจารณาโดยพิจารณาจากความรุนแรงของอาการ และคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านกายภาพบำบัด เพื่อให้ได้ผลที่ดีที่สุดในการรักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

Guyluck fb cover page4 re-02-01.jpg
Guyluck fb cover page9.2-01.jpg
bottom of page