
เจ็บหัวไหล่ ยกแขนไม่ขึ้น ทิ้งไว้นาน ๆ ระวัง ข้อไหล่ติด
หากคุณมีอาการปวดไหล่ ขยับไหล่ไม่ได้ ยกแขนไม่สุด ยกแขนไม่ขึ้น หรือยกแขนแล้วเจ็บ นั่นอาจเป็นสัญญาณของ “ข้อไหล่ติด” อาการที่ผิดปกติบริเวณหัวไหล่ที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก แต่ไม่ต้องเป็นกังวลไปเพราะสามารถรักษาให้หายได้ หากปฏิบัติตัวอย่างถูกวิธี
จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นข้อไหล่ติด?
ลักษณะอาการข้อไหล่ติด ขยับไหล่ไม่ได้ จะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับว่าอาการของคนนั้นอยู่ในระยะใด ซึ่งสามารถสังเกตอาการเบื้องต้นได้ดังนี้
- ไม่สามารถยกแขน หรือเคลื่อนไหวแขนได้สุด ไม่ว่าจะเป็น ข้างหน้า ข้างซ้าย ข้างขวา หรือข้างหลัง
- หากยกแขนจนถึงระดับเกือบสุดจะรู้สึกเจ็บปวด
- มีอาการปวดไหล่ในตอนกลางคืน หรือเวลาที่นอนทับไหล่
- มีอาการปวดไหล่ตื้อ ๆ และจะเจ็บมากขึ้นเมื่อเคลื่อนไหว
- ไม่สามารถเอื้อมมือไปด้านหลังได้
- ยกแขนขึ้นสระผมลำบาก หรือไม่สามารถยกแขนเพื่อสวมเสื้อผ้าทางศีรษะ
- ออกแรงผลักเปิดประตูหนัก ๆ ไม่ได้
- หิ้ว หยิบ หรือยกของหนักลำบาก

หากมีอาการเหล่านี้ อาจเป็นสัญญาณว่ากำลังเป็นข้อไหล่ติดอยู่
แนะนำให้ไปพบนักกายภาพบำบัดเพื่อทำการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ไม่ควรปล่อยทิ้ง เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่เมื่อมีอาการปวดไหล่ เจ็บไหล่ แล้วจะยิ่งไม่ขยับหัวไหล่ และทำให้อาการไหล่ติดรุนแรงมากขึ้น
เมื่อไหร่ที่ต้องรักษาอาการข้อไหล่ติด
ถึงแม้ว่าอาการข้อไหล่ติด ยกแขนไม่ขึ้น จะสามารถฟื้นตัวได้เอง แต่เมื่อมีอาการแล้วก็ควรที่จะรีบไปพบนักกายภาพบำบัด หรือแพทย์ เพื่อตรวจอาการและเข้ารับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม เพื่อช่วยให้อาการสามารถฟื้นตัวได้อย่างสมบูรณ์ บรรเทาอาการปวดที่อาจเกิดขึ้นได้ และลดความเสี่ยงในการเกิดอาการกล้ามเนื้อรอบหัวไหล่ลีบ หรือไหล่ยึดติดรุนแรงขึ้นจากการที่ไม่ใช้งานแขนข้างที่มีอาการดังกล่าว
การรักษาอาการไหล่ติดด้วยกายภาพบำบัดเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการและเพิ่มฟังก์ชันการทำงานของกล้ามเนื้อ
โดยมีวิธีการรักษาดังนี้

การประเมินและวินิจฉัย : การเริ่มต้นด้วยการประเมินและวินิจฉัยปัญหาทางกายภาพ ซึ่งสามารถทำได้โดยผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านกายภาพบำบัด โดยการสำรวจอาการปวด การตรวจสอบความเคลื่อนไหว และประเมินภาพรวมของร่างกาย
การออกกำลังกายและการยืดกล้ามเนื้อ : ผู้ป่วยอาจต้องทำกิจกรรมการออกกำลังกายและการยืดกล้ามเนื้อเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ อาจมีการใช้ท่าทางการยืดกล้ามเนื้อเฉพาะ หรือออกกำลังกายโดยกายภาพบําบัดที่เน้นการยืดกล้ามเนื้อ
การกายภาพบำบัดแบบแรงต้าน : การใช้แรงต้านเพื่อฝึกกล้ามเนื้อให้แข็งแรงและยืดหยุ่น โดยใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ
การฟื้นฟูศักยภาพและความสามารถในการทำงาน: การฝึกซ้อมและการทำกิจกรรมที่เน้นความสามารถในการทำงานและฟื้นฟูสภาพกล้ามเนื้อให้กลับสู่ระดับปกติ ซึ่งอาจรวมถึงการทำงานในภาวะทางการทำงานจริง เพื่อป้องกันการกลับมาเกิดอีกครั้ง
การให้คำแนะนำและการศึกษาเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของกล้ามเนื้อ : การให้คำแนะนำเกี่ยวกับท่าทางที่ถูกต้องในการทำงาน การยกของ การยืน เดินหรือวิ่ง รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องที่อาจเป็นสาเหตุของปัญหา
การวิเคราะห์และปรับท่าทางการทำงาน : ผู้ป่วยอาจต้องปรับเปลี่ยนท่าทางการทำงาน เช่น การปรับความสูงของโต๊ะทำงาน การปรับที่นั่งให้รองรับร่างกาย หรือการเปลี่ยนแปลงท่าทางในการยกของ เพื่อลดการเอนหลังและการกดทับในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
การรักษาโดยเครื่องมือทางกายภาพบำบัด :
เครื่องอัลตราซาวด์ (คลื่นร้อนความลึก) กระตุ้นเลือดให้มาเลี้ยงบริเวณที่มีจุดกดเจ็บ และตึงตัวมากเกินไป ทำให้เลือดกลับมาเลี้ยงบริเวณที่ปวดมากขึ้น เป็นสาเหตุให้กล้ามเนื้อคลายตัว คนไข้จึงรู้สึกโล่งขึ้น
เครื่อง ES (electrical stimulator) เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าจะเข้าไปกระตุ้นเส้นใยกล้ามเนื้อและเส้นประสาทขนาดใหญ่และไปยับยั้งการส่งกระแสประสาทความเจ็บปวด จากเส้นประสาทขนาดเล็กไม่ให้ส่งกระแสประสาทจากบริเวณที่เจ็บปวดไปสู่สมอง และ กระแสไฟฟ้าจะกระตุ้นเส้นใยประสาทที่รับความเจ็บปวดให้หลั่งสาร เอ็นเคฟาลิน (enkephalin) ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายมอร์ฟีน ที่ช่วยลดการเจ็บปวดนอกจากนี้ยังกระตุ้นสารลดความเจ็บปวด เอ็นโดฟิน(endorphin) จึงสามารถลดปวดได้
เครื่อง Shock wave (คลื่นกระแทก) กระตุ้นการบาดเจ็บเพื่อสร้างเนื้อเยื่อใหม่ ทำให้ลดอาการปวด โดยวิธีการลดสารสื่อประสาทที่ส่งสัญญาณปวดและกระตุ้นการลดปวดในกล้ามเนื้อ (re-injury) จึงจะเห็นผลหลังการรักษาทันที
การรักษาอาการไหล่ติดด้วย กายภาพบําบัด เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการลดอาการปวด ลดอาการเสียดสีและการกดทับเส้นประสาท และเพิ่มฟังก์ชันการทำงานของกล้ามเนื้อ อย่างไรก็ตาม การเลือกใช้วิธีการรักษาที่เหมาะสมควรพิจารณาโดยพิจารณาจากความรุนแรงของอาการ และคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านกายภาพบำบัด เพื่อให้ได้ผลที่ดีที่สุดในการรักษาอาการไหลติด
