
แก้ออฟฟิศซินโดรมด้วยกายภาพบำบัด (Office Syndrome)
หนึ่งในโรคยอดฮิตติดลมบนมากที่สุดของเหล่าบรรดามนุษย์ออฟฟิศทั้งหลายหนีไม่พ้นคือ “ออฟฟิศซินโดรม” (Office syndrome) สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนด้วยลักษณะการทำงานที่ต้องนั่งอยู่กับที่เป็นเวลานานบวกกับไม่ค่อยมีเวลาออกกำลังกายเท่าใดนักแถมหลายคนยังมีพฤติกรรมทำลายสุขภาพอื่นร่วมด้วย เช่น ดื่มแอลกอฮอล์, สูบบุหรี่ ฯลฯ แต่ถ้าใครรู้แล้วว่าตนเองกำลังเผชิญกับ โรคออฟฟิศซินโดรม กายภาพบำบัด ถือเป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจมากทีเดียว
ออฟฟิศซินโดรมอาการป่วยของมนุษย์เงินเดือนที่อย่ามองข้าม
หลายคนมักคิดว่าแค่ปวดคอ บ่า ไหล่ไม่เห็นจะเป็นไร มันก็แค่กล้ามเนื้อทั่วไปแต่ในความเป็นจริงปัญหาของโรคออฟฟิศซินโดรมมีความร้ายแรงกว่านั้นหลายเท่ามากโอกาสเสี่ยงลุกลามไปสู่การปวดหัวไมเกรนโรคที่เกี่ยวข้องกับกระดูกและกล้ามเนื้อในส่วนอื่น ๆ มีเยอะชนิดที่คุณคาดไม่ถึงซึ่งใครที่เริ่มรู้สึกถึงอาการเหล่านี้อย่ามองข้ามเป็นอันขาด
- รู้สึกปวดบริเวณคอบ่า ไหล่และสะบัก หรือบางรายลุกลามไปจนถึงสะโพกและหลัง แม้นอนพักหรือไม่ได้นั่งในท่าเดิมแล้วก็ยังไม่หายขาด
- เอ็นกล้ามเนื้อมีอาการบวมหรือรู้สึกเจ็บส่วนใหญ่จะเกิดบริเวณหัวไหล่ ข้อศอก ข้อมือ ข้อเท้า ส่วนใหญ่มีสาเหตุจากอุบัติเหตุ เช่น โดนกระแทก ล้ม หรือใช้งานรุนแรงผิดจังหวะ
- ปวดหลัง ปวดเอว อาการคล้าย ๆ กับข้อแรกเวลานั่งอยู่เฉย ๆ หรือมีการขยับร่างกายก็เสียวแปล๊บ ไม่สบายตัวอย่างมาก
- บางรายที่อาการเริ่มหนักขึ้นจะลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่นเช่น นิ้วล็อก ตาแห้ง ปวดดวงตา ไปจนถึงการปวดหัวไมเกรน

ออฟฟิศซินโดรมกายภาพบำบัดช่วยได้หรือไม่
สำหรับผู้ที่มีอาการออฟฟิศซินโดรมกายภาพบำบัดถือเป็นอีกวิธีรักษาที่จะช่วยบรรเทาปัญหาของโรคได้เหตุผลสำคัญมาจากนักกายภาพบำบัดหรือบรรดา นักกายภาพบำบัด จะได้รับการเรียนรู้เรื่องสรีระศาสตร์มาเป็นอย่างดีเข้าใจสาเหตุที่เกิดขึ้นกับร่างกาย รวมถึง สถานคลินิกกายภาพบำบัด
หลายแห่งยังมีการรักษาด้วยหลักบูรณาการ คือ
การกายภาพบำบัดออฟฟิศซินโดรม ร่วมกับการใช้ยา เพื่อจัดสมดุลและรักษาอาการเจ็บปวดของร่างกายรวมถึงยังมีเรื่องของอุปกรณ์และอุปกรณ์การแพทย์ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อให้ผู้ป่วยอาการดีขึ้น
อย่างไรก็ตามนอกจากการกายภาพบำบัดออฟฟิศซินโดรม หรือการกายภาพบำบัด ปวดหลังแล้ว การเข้าใจถึงสาเหตุพร้อมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองเป็นสิ่งสำคัญมากที่สุดเพราะบ่อยครั้งแม้ผู้ป่วยจะหายดีทว่าเมื่อเวลาผ่านไปก็กลับมาเป็นได้ใหม่จากการใช้ชีวิตที่ยังคงรูปแบบเก่าด้วยเหตุนี้หากไม่อยากถึงขั้นเจ็บป่วยหนักไปมากกว่าเดิมใส่ใจสุขภาพและรักตัวเองให้มากขึ้นจะดีที่สุด
การรักษาโรคออฟฟิศซินโดรมด้วยกายภาพบำบัดเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการและเพิ่มฟังก์ชันการทำงานของกล้ามเนื้อ โดยมีวิธีการรักษาดังนี้

การประเมินและวินิจฉัย : การเริ่มต้นด้วยการประเมินและวินิจฉัยปัญหาทางกายภาพ ซึ่งสามารถทำได้โดยผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านกายภาพบำบัด โดยการสำรวจอาการปวด การตรวจสอบความเคลื่อนไหว และประเมินภาพรวมของร่างกาย
การออกกำลังกายและการยืดกล้ามเนื้อ : ผู้ป่วยอาจต้องทำกิจกรรมการออกกำลังกายและการยืดกล้ามเนื้อเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ อาจมีการใช้ท่าทางการยืดกล้ามเนื้อเฉพาะ หรือออกกำลังกายโดยกายภาพบําบัดที่เน้นการยืดกล้ามเนื้อ
การกายภาพบำบัดแบบแรงต้าน : การใช้แรงต้านเพื่อฝึกกล้ามเนื้อให้แข็งแรงและยืดหยุ่น โดยใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ
การฟื้นฟูศักยภาพและความสามารถในการทำงาน: การฝึกซ้อมและการทำกิจกรรมที่เน้นความสามารถในการทำงานและฟื้นฟูสภาพกล้ามเนื้อให้กลับสู่ระดับปกติ ซึ่งอาจรวมถึงการทำงานในภาวะทางการทำงานจริง เพื่อป้องกันการกลับมาเกิดอีกครั้ง
การให้คำแนะนำและการศึกษาเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของกล้ามเนื้อหลัง : การให้คำแนะนำเกี่ยวกับท่าทางที่ถูกต้องในการทำงาน การยกของ การนั่งหรือยืน รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องที่อาจเป็นสาเหตุของปัญหา
การวิเคราะห์และปรับท่าทางการทำงาน : ผู้ป่วยอาจต้องปรับเปลี่ยนท่าทางการทำงาน เช่น การปรับความสูงของโต๊ะทำงาน การปรับที่นั่งให้รองรับร่างกาย หรือการเปลี่ยนแปลงท่าทางในการยกของ เพื่อลดการเอนหลังและการกดทับในส่วนต่างๆ ของร่างกาย
การรักษาโดยเครื่องมือทางกายภาพบำบัด :
เครื่องอัลตราซาวด์ (คลื่นร้อนความลึก) กระตุ้นเลือดให้มาเลี้ยงบริเวณที่มีจุดกดเจ็บ และตึงตัวมากเกินไป ทำให้เลือดกลับมาเลี้ยงบริเวณที่ปวดมากขึ้น เป็นสาเหตุให้กล้ามเนื้อคลายตัว คนไข้จึงรู้สึกโล่งขึ้น
เครื่อง ES (electrical stimulator) เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าจะเข้าไปกระตุ้นเส้นใยกล้ามเนื้อและเส้นประสาทขนาดใหญ่และไปยับยั้งการส่งกระแสประสาทความเจ็บปวด จากเส้นประสาทขนาดเล็กไม่ให้ส่งกระแสประสาทจากบริเวณที่เจ็บปวดไปสู่สมอง และ กระแสไฟฟ้าจะกระตุ้นเส้นใยประสาทที่รับความเจ็บปวดให้หลั่งสาร เอ็นเคฟาลิน (enkephalin) ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายมอร์ฟีน ที่ช่วยลดการเจ็บปวดนอกจากนี้ยังกระตุ้นสารลดความเจ็บปวด เอ็นโดฟิน(endorphin) จึงสามารถลดปวดได้
เครื่อง Shock wave (คลื่นกระแทก) กระตุ้นการบาดเจ็บเพื่อสร้างเนื้อเยื่อใหม่ ทำให้ลดอาการปวด โดยวิธีการลดสารสื่อประสาทที่ส่งสัญญาณปวดและกระตุ้นการลดปวดในกล้ามเนื้อ (re-injury) จึงจะเห็นผลหลังการรักษาทันที
การรักษาโรคออฟฟิศซินโดรมด้วย กายภาพบําบัด เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการลดอาการปวด ลดอาการเสียดสีและการกดทับเส้นประสาท และเพิ่มฟังก์ชันการทำงานของกล้ามเนื้อ อย่างไรก็ตาม การเลือกใช้วิธีการรักษาที่เหมาะสมควรพิจารณาโดยพิจารณาจากความรุนแรงของอาการ และคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านกายภาพบำบัด เพื่อให้ได้ผลที่ดีที่สุดในการรักษาโรคออฟิซซินโดรม
