top of page
S__13525000.jpg

กายภาพบําบัดแก้อาการปวดคอได้อย่างไร (Neck Pain)

โรคปวดคอเป็นอาการที่พบได้บ่อยในคนทำงานทั่วไป โดยส่วนใหญ่เกิดจากปัจจัยทางกายภาพและพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง โรคนี้อาจมีเกิดอาการปวดเรื้อรังหรือเกิดขึ้นเฉพาะบางครั้ง โดยที่คนทั่วไปมักจะจดจ่อกับการทำงานมากเกินไปจนส่งผลเสียกับท่าทางระหว่างทำงาน ทำให้เกิดเป็นปัญหาที่คิดว่ามันจะหายไปเอง แต่ในทางตรงกันข้ามบางครั้งอาจจะส่งผลระยะยาว ทำให้เป็นโรคกระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อมก่อนวัยอันควร จนเกิดอาการชาตามแขนหรือปลายนิ้วมือได้

สาเหตุของโรคปวดคอ
- การทำงานและการนั่งหรือยืนในท่าทางที่ไม่ถูกต้อง
- การทำงานหนักของข้อไหล่หรือการทำงานที่ใช้แขนเยอะ ๆ
- การทำงานเดิม ๆ ซ้ำ ๆ เช่นงานคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์
- ความเครียด
- การใช้โทรศัพท์มือถือนาน ๆ
- คอยื่นไปข้างหน้า หลังค่อม
- หมอนไม่รองรับสรีระของคอ ทำให้คออยู่ในท่าที่ผิดปกติ
- การนอนในท่าทางไม่ถูกต้อง

pgghfe_edited_edited.jpg

การออกกำลังกาย กายภาพบําบัดแบบยืดกล้ามเนื้อ เพื่อลดการเกร็งค้างของกล้ามเนื้อ
ยืดกล้ามเนื้อคอด้านหลัง : ใช้มือสองข้างประสานบริเวณท้ายทอย ก้มคอลงจนรู้สึกตึงบริเวณต้นนคอ แต่ไม่มีอาการเจ็บ ยืดค้างไว้ 30 วินาที ทำทั้งหมด 3 ครั้ง/1 รอบ ทำทั้งหมด 3 รอบ
ยืดกล้ามเนื้อคอด้านหน้า : ใช้มือสองข้างกดบริเวณไหปลาร้า เงยงอจนรู้สึกตึงบริเวณด้านหน้าจนรู้สึกตึงบริเวณต้นคอ แต่ไม่มีอาการเจ็บ ยืดค้างไว้ 30 วินาที ทำทั้งหมด 3 ครั้ง/1 รอบ ทำทั้งหมด 3 รอบ
ยืดกล้ามเนื้อคอด้านข้าง : ใช้มือ 1 ข้าง เหนี่ยวเก้าอี้หรือนั่งทับ เอียงคอไปทางด้านที่ต้องการยืด เมื่อรู้สึกตึงให้ก้มคอลงเล็กน้องจนรู้สึกตึงมากขึ้น แต่ไม่มีอาการเจ็บ ยืดค้างไว้ 30 วินาที ทำทั้งหมด 3 ครั้ง/1 รอบ ทำทั้งหมด 3 รอบ/1 ข้าง

การรักษาโรคปวดคอด้วยกายภาพบำบัดเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการและเพิ่มฟังก์ชันการทำงานของกล้ามเนื้อบริเวณคอและบ่า โดยมีวิธีการรักษาดังนี้

S__8699927.jpg

การประเมินและวินิจฉัย : การเริ่มต้นด้วยการประเมินและวินิจฉัยปัญหาทางกายภาพ ซึ่งสามารถทำได้โดยผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านกายภาพบำบัด โดยการสำรวจอาการปวด การตรวจสอบความเคลื่อนไหว และประเมินภาพรวมของร่างกาย

 

การออกกำลังกายและการยืดกล้ามเนื้อ : ผู้ป่วยอาจต้องทำกิจกรรมการออกกำลังกายและการยืดกล้ามเนื้อเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ อาจมีการใช้ท่าทางการยืดกล้ามเนื้อเฉพาะ หรือออกกำลังกายโดยกายภาพบําบัดที่เน้นการยืดกล้ามเนื้อ

 

การกายภาพบำบัดแบบแรงต้าน : การใช้แรงต้านเพื่อฝึกกล้ามเนื้อให้แข็งแรงและยืดหยุ่น โดยใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ

 

การฟื้นฟูศักยภาพและความสามารถในการทำงาน: การฝึกซ้อมและการทำกิจกรรมที่เน้นความสามารถในการทำงานและฟื้นฟูสภาพกล้ามเนื้อให้กลับสู่ระดับปกติ ซึ่งอาจรวมถึงการทำงานในภาวะทางการทำงานจริง เพื่อป้องกันการกลับมาเกิดอีกครั้ง

 

การให้คำแนะนำและการศึกษาเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของกล้ามเนื้อหลัง : การให้คำแนะนำเกี่ยวกับท่าทางที่ถูกต้องในการทำงาน การยกของ การนั่งหรือยืน รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องที่อาจเป็นสาเหตุของปัญหา

 

การวิเคราะห์และปรับท่าทางการทำงาน : ผู้ป่วยอาจต้องปรับเปลี่ยนท่าทางการทำงาน เช่น การปรับความสูงของโต๊ะทำงาน การปรับที่นั่งให้รองรับร่างกาย หรือการเปลี่ยนแปลงท่าทางในการยกของ เพื่อลดการเอนหลังและการกดทับในส่วนต่างๆ ของร่างกาย

 

การรักษาโดยเครื่องมือทางกายภาพบำบัด :
เครื่องอัลตราซาวด์ (Ultrasound) : กระตุ้นเลือดให้มาเลี้ยงบริเวณที่มีจุดกดเจ็บ และตึงตัวมากเกินไป ทำให้เลือดกลับมาเลี้ยงบริเวณที่ปวดมากขึ้น เป็นสาเหตุให้กล้ามเนื้อคลายตัว คนไข้จึงรู้สึกโล่งขึ้น


เครื่อง ES (electrical stimulator) : เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าจะเข้าไปกระตุ้นเส้นใยกล้ามเนื้อและเส้นประสาทขนาดใหญ่และไปยับยั้งการส่งกระแสประสาทความเจ็บปวด จากเส้นประสาทขนาดเล็กไม่ให้ส่งกระแสประสาทจากบริเวณที่เจ็บปวดไปสู่สมอง และ กระแสไฟฟ้าจะกระตุ้นเส้นใยประสาทที่รับความเจ็บปวดให้หลั่งสาร เอ็นเคฟาลีน (enkephalin) ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายมอร์ฟีน ที่ช่วยลดการเจ็บปวดนอกจากนี้ยังกระตุ้นสารลดความเจ็บปวด เอ็นโดฟิน (endorphin) จึงสามารถลดปวดได้ จากการลดสารสื่อประสาทที่ส่งสัญญาณปวดและกระตุ้นการลดปวดในกล้ามเนื้อ


เครื่อง Shock wave (คลื่นกระแทก) : กระตุ้นการบาดเจ็บเพื่อสร้างเนื้อเยื่อใหม่ ทำให้ลดอาการปวด โดยวิธีการลดสารสื่อประสาทที่ส่งสัญญาณปวดและกระตุ้นการลดปวดในกล้ามเนื้อ (re-injury) จึงจะเห็นผลหลังการรักษาทันที

การรักษาอาการปวดคอด้วย กายภาพบําบัด เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการลดอาการปวด ลดอาการเสียดสีและการกดทับเส้นประสาท และเพิ่มฟังก์ชันการทำงานของกล้ามเนื้อบริเวณคอและบ่า อย่างไรก็ตาม การเลือกใช้วิธีการรักษาที่เหมาะสมควรพิจารณาโดยพิจารณาจากความรุนแรงของอาการ และคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านกายภาพบำบัด เพื่อให้ได้ผลที่ดีที่สุดในการรักษาอาการปวดคอ

Guyluck fb cover page4 re-02-01.jpg
Guyluck fb cover page9.2-01.jpg
bottom of page