top of page
20220510150832_27073702.jpeg

โรคข้อเข่าเสื่อม (Knee Osteoarthritis) 

โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมและสึกหรอของผิวกระดูกอ่อนข้อเข่า ซึ่งผิวกระดูกอ่อนนี้ ในภาวะปกติทำหน้าที่ช่วยให้การเคลื่อนไหวของข้อที่เรียบลื่น ไม่ติดขัด และทำหน้าที่เป็นส่วนรองรับน้ำหนักของร่างกาย

อาการข้อเข่าเสื่อมจะส่งผลให้เกิดการอักเสบของกระดูกอ่อนผิวข้อและเยื่อหุ้มข้อ ทำให้ความสามารถในการสร้างน้ำไขข้อลดลง หรือสูญเสียคุณสมบัติของน้ำไขข้อไป ส่งผลย้อนกลับให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของกระดูกอ่อนผิวข้อบางลง และอาจหายไปทั้งหมดในผู้ป่วยที่ข้อเสื่อมขั้นรุนแรง ผิวข้อจะเกิดความขรุขระไม่เรียบลื่น มีกระดูกงอกเกิดขึ้นบริเวณรอบๆ ข้อ เกิดการโก่งงอเสียความสมดุลของข้อเข่ามากขึ้นเรื่อยๆ ตามระดับความรุนแรงของโรคที่เป็นมากขึ้น

{EF7538F5-BC88-4BC4-942F-CFC526044AEB}.png

ในกรณีที่อาการรุนแรงและเป็นประจำ อาจต้องใช้การรักษาแบบอื่น เช่น การฟื้นฟูกล้ามเนื้อขาด้วยการออกกำลังกาย การฟื้นฟูศักยภาพกล้ามเนื้อด้วยการได้รับคำแนะนำจากนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญ และการเสริมด้วยการรักษาสำหรับการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม สิ่งที่สำคัญคือการรักษาระดับความเครียดในชีวิตประจำวัน การปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานและสำคัญที่สุดคือการออกกำลังกายที่ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อและกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางให้แข็งแรงมากยิ่งขึ้น

โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นภาวะที่สามารถป้องกันและรักษาได้สำเร็จ หากผู้ป่วยให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพของตนเอง และรับการรักษาที่เหมาะสมต่อผู้ป่วยในขั้นตอนต่างๆ ที่เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และเสริมสร้างกล้ามเนื้อและระบบประสาทให้แข็งแรง 

การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยกายภาพบำบัดเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการและเพิ่มฟังก์ชันการทำงานของกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าโดยมีวิธีการรักษาดังนี้

physiotherapy-2.jpg

การประเมินและวินิจฉัย : การเริ่มต้นด้วยการประเมินและวินิจฉัยปัญหาทางกายภาพ ซึ่งสามารถทำได้โดยผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านกายภาพบำบัด โดยการสำรวจอาการปวด การตรวจสอบความเคลื่อนไหว และประเมินภาพรวมของร่างกาย

 

การออกกำลังกายและการยืดกล้ามเนื้อ : ผู้ป่วยอาจต้องทำกิจกรรมการออกกำลังกายและการยืดกล้ามเนื้อเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าอาจมีการใช้ท่าทางการยืดกล้ามเนื้อเฉพาะ หรือออกกำลังกายโดยกายภาพบําบัดที่เน้นการยืดกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า

 

การกายภาพบำบัดแบบแรงต้าน : การใช้แรงต้านเพื่อฝึกกล้ามเนื้อหลังให้แข็งแรงและยืดหยุ่น โดยใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ

 

การฟื้นฟูศักยภาพและความสามารถในการทำงาน: การฝึกซ้อมและการทำกิจกรรมที่เน้นความสามารถในการทำงานและฟื้นฟูสภาพกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าให้กลับสู่ระดับปกติ ซึ่งอาจรวมถึงการทำงานในภาวะทางการทำงานจริง เพื่อป้องกันการกลับมาเกิดอีกครั้ง

 

การให้คำแนะนำและการศึกษาเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของกล้ามเนื้อหลัง : การให้คำแนะนำเกี่ยวกับท่าทางที่ถูกต้องในการทำงาน การนั่ง การเดิน หรือยืนให้ถูกวิธี รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องที่อาจเป็นสาเหตุของปัญหา

 

การวิเคราะห์และปรับท่าทางการทำงาน : ผู้ป่วยอาจต้องหลีกเลี่ยงการใช้งาน ท่าทางการทำงาน เช่น การยืน เดินทางราบหรือขึ้นลงบันใดเป็นเวลานาน เพื่อลดการใช้งานของกล้ามเนื้อขา และลดการกระตุ้นอาการ ของข้อเข่า

 

การรักษาโดยเครื่องมือทางกายภาพบำบัด :

เครื่องอัลตราซาวด์ (คลื่นร้อนความลึก) กระตุ้นเลือดให้มาเลี้ยงบริเวณที่มีจุดกดเจ็บ และตึงตัวมากเกินไป ทำให้เลือดกลับมาเลี้ยงบริเวณที่ปวดมากขึ้น เป็นสาเหตุให้กล้ามเนื้อคลายตัว คนไข้จึงรู้สึกโล่งขึ้น

เครื่อง ES (electrical stimulator) เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าจะเข้าไปกระตุ้นเส้นใยกล้ามเนื้อและเส้นประสาทขนาดใหญ่และไปยับยั้งการส่งกระแสประสาทความเจ็บปวด จากเส้นประสาทขนาดเล็กไม่ให้ส่งกระแสประสาทจากบริเวณที่เจ็บปวดไปสู่สมอง และ กระแสไฟฟ้าจะกระตุ้นเส้นใยประสาทที่รับความเจ็บปวดให้หลั่งสาร เอ็นเคฟาลิน (enkephalin) ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายมอร์ฟีน ที่ช่วยลดการเจ็บปวดนอกจากนี้ยังกระตุ้นสารลดความเจ็บปวด เอ็นโดฟิน(endorphin) จึงสามารถลดปวดได้

เครื่อง Shock wave (คลื่นกระแทก) กระตุ้นการบาดเจ็บเพื่อสร้างเนื้อเยื่อใหม่ ทำให้ลดอาการปวด โดยวิธีการลดสารสื่อประสาทที่ส่งสัญญาณปวดและกระตุ้นการลดปวดในกล้ามเนื้อ (re-injury) จึงจะเห็นผลหลังการรักษาทันที

การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วย กายภาพบําบัด เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการลดอาการปวด ลดอาการเสียดสีและชะลอเข่าเสื่อม เพิ่มฟังก์ชันการทำงานของกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า อย่างไรก็ตาม การเลือกใช้วิธีการรักษาที่เหมาะสมควรพิจารณาโดยพิจารณาจากความรุนแรงของอาการ และคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านกายภาพบำบัด เพื่อให้ได้ผลที่ดีที่สุดในการรักษาโรคปวดหลังเรื้อรัง

Guyluck fb cover page4 re-02-01.jpg
Guyluck fb cover page9.2-01.jpg
bottom of page